เทคนิคการถ่ายวิดีโอด้วยโทรศัพท์มือถือ

ต้องขอบคุณวิทยาการทางเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถผลิตคอนเทนต์ระดับมืออาชีพได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นสมาร์ทโฟนแทบจะทั้งหมด และกล้องบนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ก็พัฒนาไปไกลถึงขนาดที่ตากล้องต่างก็หันมาใช้มือถือถ่ายแทนที่กล้องราคาสูง ถ้าหากว่าคุณเป็นช่างภาพหรือวีดีโอมือสมัครเล่นและยังไม่พร้อมที่จะลงทุนกับการซื้อกล้องมืออาชีพ คุณสามารถที่จะทดสอบทักษะตัวเองได้ผ่านสมาร์ทโฟน แต่คุณก็ควรที่จะซื้ออุปกรณ์เสริมเช่นไมโครโฟนเพื่อจะได้คุณภาพเสียงที่ดี วันนี้เราได้รวบรวมคำแนะนำเกี่ยวกับการถ่ายทำวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟนมาไว้ให้แล้ว ลองไปดูและเริ่มออกไปถ่ายกันเลย

ในอดีตหนังหรือวีดีโอสั้นจะถูกถ่ายทำด้วยกล้อง DSLR หรือกล้องโปรคุณภาพสูง แต่เกิดขึ้นของสมาร์ทโฟนได้มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติกระบวนการสร้างสรรค์นี้ เนื่องจากเลนส์ของกล้องในสมาร์ทโฟนสมัยใหม่มีประสิทธิภาพสูงมากจึงทำให้สามารถผลิตวีดีโอคุณภาพสูงได้โดยไม่ต้องพึ่งพากล้องราคาแพงอีกต่อไป ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา การถ่ายวีดีโอด้วยไอโฟนหรือสมาร์ทโฟนอื่น ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมากเพราะไฟล์ที่ได้มีคุณภาพสูงขึ้น creator จำนวนหนึ่งนิยมที่จะใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายเพราะเขาสามารถที่จะแชร์คลิปวีดีโอผ่านเพจของเขาได้อย่างงายดายและทันที

ถ้าคุณเป็นตากล้องที่ชื่นชอบในการถ่ายช็อตแอ็กชัน คุณสามารถที่จะตัดต่อฟุตเทจจากกล้อง GoPro บนสมาร์ทโฟนด้วยแอปและส่งให้เพื่อนได้ในทันที ซึ่งนี่ได้ว่าเป็นจุดที่ดึงดูดที่สุดของการใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายวีดีโอแต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยใช้มันเพื่อทดสอบทักษะในการถ่ายทำของตน สำหรับใครที่สนใจที่จะถ่ายวีดีโอแต่ยังเพิ่งเริ่มต้น คุณสามารถที่จะถ่ายได้เลยด้วยสมาร์ทโฟนของคุณ ซึ่งเราแนะนำให้เริ่มต้นเล็ก ๆ ด้วยการลงทุนซื้ออุปกรณ์เสริมราคาย่อมเยา รู้ตัวอีกทีหนังของคุณอาจจะได้เข้าชิงรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ ทั่วโลกก็เป็นได้

คุณจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์กันสั่นเมื่อคุณถ่ายวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟนเพราะมันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะถือกล้องไว้นิ่ง ๆ ได้ตลอดการถ่ายทำ อุปกรณ์กันสั่นจะช่วยทำให้วีดีโอของคุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วย การที่วีดีโอหรือภาพยนตร์มีการสั่นไหวเยอะจะทำให้ดูอ่อนประสบการณ์และอาจสร้างความวิงเวียนให้แก่ผู้ชมได้ อุปกรณ์กันสั่นมีให้เลือกตั้งแต่ขาตั้งกล้อง (Tripod) กิมบอล (Gimbal) จนไปถึงวีดีโอริก (Video Rig) เป็นต้น

ขาตั้งกล้องและกรอบมือจับคืออุปกรณ์กันสั่นสองตัวที่นิยมใช้กันเป็นหลัก ขาตั้งกล้องถูกออกแบบมาไว้ให้ตั้งไว้กับพื้นหรือพื้นผิวที่มีความเรียบซึ่งจะทำให้กล้องหรือสมาร์ทโฟนสามารถที่จะจับภาพได้โดยไม่สั่นไหว ขาตั้งกล้องโดยทั่วไปเหมาะกับการใช้งานสำหรับถ่ายภาพนิ่ง แต่ถ้าแบบที่คุณต้องการจะถ่ายมีการเคลื่อนไหวเยอะเราแนะนำให้ใช้กิมบอล (Gimbal Head) เพื่อที่จะสามารถขยับกล้องไปมาได้โดยไม่สั่นไหว กิมบอลคืออุปกรณ์ที่มีไว้ติดกับขาตั้งกล้องซึ่งเราสามารถที่จะบังคับมันด้วยมือหรือด้วยรีโมตก็ได้ ในทางกลับกันกรอบมือจับคืออุปกรณ์กันสั่นที่ต้องถือไว้ นั่นหมายความว่าคุณจะต้องเอากล้องหรือมือถือติดเข้ากับกรอบมือจับและจะต้องถือมันขยับไปมาในการถ่ายทำซึ่งจะช่วยกันสั่นได้ในระดับนึง

ในการถ่ายทำวีดีโอหรือภาพยนตร์สถานที่ในการถ่ายทำเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้น ๆ เสมอ สิ่งที่คุณจะต้องคำนึงถึงมีดังนี้ เสียงรบกวนระหว่างการถ่ายทำ จำนวนคนที่จะอยู่ในพื้นที่ รวมไปถึงแสง เราแนะนำให้เลือกสถานที่ที่มีเสียงรบกวนน้อยและให้ใช้ไมโครโฟนเสริมเพื่อคุณภาพเสียงที่ดี

ในขณะที่กล้องบนสมาร์ทโฟนมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงมากแล้วแต่ไมค์นั้นยังไม่ค่อยได้รับการพัฒนาเท่าไหร่นัก การที่จะได้เสียงที่มีคุณภาพคุณจำเป็นที่จะต้องใช้ไมค์ตัวใหญ่นอกเหนือจากไมค์มือถือ เนื่องจากความนิยมที่ต้องการมือถือที่มีขนาดเล็กและบาง ผู้ผลิตจึงไม่สามารถที่จะใส่ไมค์ที่ให้คุณภาพเสียงที่ดีได้เพราะมันจะทำให้มือถือมีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้ใครก็ตามที่จะถ่ายวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟนให้ใช้ไมค์ตัวนอกเสริมเพื่อความคมชัดของเสียง

หนึ่งในกฎสำคัญที่สุดของการถ่ายวีดีโอด้วยมือถือคือจงการถ่ายด้วยโหมด Landscape เสมอ เพราะมันจะทำให้วีดีโอของคุณดูมืออาชีพ การถ่ายในแนวตั้งจะให้มุมที่แคบและเห็นได้ชัดว่าถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือ การถ่ายด้วยโหมด Landscape จะทำให้วีดีโอออกมาดเป็นมืออาชีพอีกทั้งยังสะดวกสบายต่อการรับชมมากกว่าอีกด้วย

กล้องในสมาร์ทโฟนนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถถ่ายได้โดยอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นการโฟกัส การตั้งค่า Exposure White Balance หรือค่าอื่น ๆ แม้แต่ช่างภาพมือใหม่ยังตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งค่าเหล่านี้ด้วยตัวเองโดยขึ้นอยู่กับแบบหรือภาพที่ต้องการ แม้ว่าสมาร์ทโฟนจะไม่ได้มีการตั้งค่าเหล่านั้นมาให้ตั้งแต่ต้นแต่คุณก็สามารถที่จะโหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ให้คุณเข้าถึงการตั้งค่าเหล่านั้นได้

การจัดแสงเป็นเรื่องสำคัญในการกำหนดมู้ดแอนด์โทนของฉาก ถ้าคุณวางแผนจะถ่ายทำกลางแจ้งคุณจะต้องพิจรณาว่าช่วงเวลาใดของวันเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ช่วงกลางวันมักจะเป็นช่วงเวลาที่แย่ที่สุดสำหรับการถ่ายทำเพราะเป็นช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์สว่างจ้าและดูแข็งทื่อ ดังนั้นคุณควรที่จะเลือกถ่ายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในช่วง Golden Hour หรือช่วง Blue Hour ช่วง Golden Hour คือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับขอบฟ้าซึ่งก็คือช่วงหลังจากที่พระอาทิตย์ขึ้นและก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน แสงที่ได้จะเป็นสีทองตามชื่อของมัน อีกช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือช่วง Blue Hour ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นหรือหลังจากที่พระอาทิตย์ตกดินและเพิ่งจะลับขอบฟ้าไปหมาด ๆ สีที่ได้จะดูมืด ๆ และมีสีฟ้าปนระเรื่อ

หลังจากเก็บฟุตมามากพอแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำเอาฟุตเหล่านั้นมาร้อยเรียงต่อกันเป็นเรื่องราวซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก ขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดโดยที่จะต้องอาศัยทักษะระดับสูงในการตัดฉากให้ดูลื่นไหลและเป็นธรรมชาติ เราแนะนำให้ถ่าย B-Roll เก็บไว้ตั้งแต่ต้นเพราะสามารถนำมาแทรกในช่วงเปลี่ยนฉากได้เป็นอย่างดี B roll คือการเก็บฟุตจากมุมอื่น ๆ ที่จะช่วยเสริมการเล่าเรื่องจากกล้องหลัก อีกหนึ่งส่วนสำคัญในขั้นตอนการตัดต่อก็คือการคำนึงถึงความสอดคล้องกันของภาพและเสียงซึ่งจะต้องอาศัยทักษะและการฝึกฝน ข้อดีของการถ่ายทำด้วยสมาร์ทโฟนก็คือคุณสามารถที่จะตัดต่อและผลิตชิ้นงานจบได้บนมือถือเลยหรือคุณจะอัพโหลดไฟล์และตัดต่อผ่านคอมก็ได้

ถ้าหากว่าคุณกำลังมองหาความท้าทายหรือเทคนิคใหม่ ๆ หลังจากที่ลองถ่ายมาสักระยะนึงแล้ว คุณสามารถที่จะลองเล่นกับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่นเลนส์เป็นต้น เลนส์สามารถที่จะเพิ่มเอฟเฟกต์ให้กับภาพที่ได้ เช่นเลนส์ฟิลเตอร์(Filtered Lens) ที่ให้สีและอารมณ์ที่แตกต่างออกไป ในขณะที่เลนส์ฟิชโบวล์ (Fishbowl Lens) ก็ได้รับความนิยมในการถ่ายกีฬาเอกซ์ทรีมเช่นสเกตบอร์ด หรือเลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lens) ที่เหมาะกับการถ่ายวิวทิวทัศน์เพราะมันจะทำให้สามารถเก็บภาพได้กว้างขึ้นกว่าเลนส์ปกติ

เสียงถือได้ว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาพเลยในการถ่ายทำวีดีโอ ผู้ชมจะต้องได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนโดยที่มีเสียงรบกวนน้อยที่สุด ถ้าหากคุณต้องการผลิตวีดีโอที่ดูเป็นมืออาชีพหรือมีความคิดที่จะส่งนหนังเข้าประกวด คุณมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไมโครโฟนเสริมไม่รูปแบบใดก็รูปแบบนึง คุณสามารถใช้ไมค์ที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนโดยตรงหรือไมค์ไร้สายซึ่งจะทำให้นักแสดงหรือพิธีกรมีความคล่องตัวมากขึ้น

เรื่องที่แม้แต่ช่างกล้องมืออาชีพมักจะหลงลืมก็คือเรื่องของแบตเตอรี โดยเฉพาะเวลาที่จะต้องถ่ายนานหลายชั่วโมง ก่อนจะไปถ่ายทำที่ไหน คุณจะต้องดูให้แน่ใจว่าคุณได้ชาร์จแบตมือถือไว้เต็มแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็อย่าลืมพกที่ชาร์จติดตัวไปด้วย ยิ่งถ้าเป็นที่ชาร์จไร้สายด้วยก็ยิ่งดีเพราะมันทำให้คุณสามารถที่จะถ่ายต่อไปได้โดยไม่สะดุด คุณคงไม่อยากตกอยู่สถานการณ์ที่แบตมาหมดตอนที่คุณกำลังถ่ายช็อตเด็ดหรอกจริงไหมครับ?

แม้ว่าฟุตเทจจะถูกจัดเก็บอัตโนมัติไว้ภายในมือถือ แต่เราต่างก็รู้ดีว่าเราจะเอาแน่เอานอนกับอุปกรณ์เทคโนโลยีเพียงตัวเดียวไม่ได้ เราจึงแนะนำให้คุณค่อยอัพโหลดฟุตเทจสำรองไว้ที่อื่นเพิ่มเติมเสมอ คุณจะใช้เมมโมรี่การ์ดหรือจะอัพโหลดไฟล์ลงคอมพิวเตอร์เป็นไฟล์สำรองไว้ก็ย่อมได้ ซึ่งจะทำให้คุณแน่ใจได้ว่าฟุตที่ถ่ายไว้จะไม่สูญหาย นอกจากนี้การใช้เมมโมรี่การ์ดสำรองยังทำให้คุณมีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้เพิ่มเติมจากพื้นที่ภายมือถือเพื่อป้องกันไม่ให้มือถือทำงานช้าอีกด้วย

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการถ่ายทำวีดีโอด้วยมือถือ

อุปกรณ์สำคัญที่คุณจำเป็นต้องมีสำหรับการถ่ายทำวีดีโอด้วยมือถือก็คือขาตั้งกล้องที่มีการติดตั้งกิมบอลหรือกรอบมือจับ ถ้าไม่พึ่งพาอุปกรณ์เหล่านี้ฟุตเทจที่เก็บมามีโอกาสที่จะสั่นไหวและดูไม่เป็นมืออาชีพ กิมบอลเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ติดกับขาตั้งกล้องที่ มันทำให้คุณสามารถขยับกล้องไปมาได้โดยไม่สั่นไหว ส่วนกรอบมือจับนั้นแตกต่างจากกิมบอลเล็กน้อยตรงที่มันเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องถือไว้กับมือ กรอบมือจับจึงเหมาะกับวีดีโอที่มีการเคลื่อนไหวมาก

สมาร์ทโฟนคืออุปกรณ์ชั้นเลิศที่คุณสามารถใช้ทดสอบทักษะในการถ่ายวีดีโอ ผู้สร้างภาพยนตร์มืออาชีพหลายคนเคยได้รับรางวัลจากหนังที่ถ่ายด้วยสมาร์ทโฟนมาแล้ว แต่การที่คุณจะสามารถผลิตหนังและวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟนได้ คุณจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกฝน การใช้ไมค์เสริมจะช่วยให้คุณได้คุณภาพเสียงที่ดีและการใช้อุปกรณ์กันสั่นหรือขาตั้งกล้องจะทำให้คุณได้ภาพที่ไม่สั่นไหวในขณะถ่ายทำ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะช่วยทำให้งานของคุณดูเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น อย่าลืมลงทุนในอุปกรณ์ถ่ายวีดีโอด้วยสมาร์ทโฟนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการถ่ายผลงานที่จะทำให้คุณภาคภูมิใจก่อนล่ะครับ

Write a Comment