Prototype ต้นแบบผลิตภัณฑ์กับความสำเร็จด้าน R&D ของ Samsung

ในยุคที่ลูกค้าสำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจ และเป็นยุคที่ความต้องการในตลาดเปลี่ยนแปลงแทบจะรายวัน การคิดนวัตกรรมใหม่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้บริหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ R&D จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในยุคใหม่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ในกระบวนการทำ R&D ทั้งหมดจะมีอยู่ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนานวัตกรรม นั่นก็คือกระบวนการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือที่เรียกว่า Prototype

ในขั้นตอนของการทำ R&D นั้น เมื่อตกผลึกทางความคิดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์แล้วก็จะนำไปสู่การสร้าง prototype หรือต้นแบบของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้นแบบของสินค้าช่วยให้นักออกแบบและวิศวกรสามารถสำรวจการออกแบบ ทดสอบตามทฤษฏี หรือยืนยันประสิทธิภาพก่อนที่จะเริ่มต้นการผลิตสินค้าจริง

ประโยชน์ของการใช้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ช่วยในการตรวจสอบแนวความคิด (Proof of concept) ว่าสิ่งที่ถูกออกแบบมานั้นถูกต้องตามที่คิดไว้หรือไม่ ทั้งเรื่องรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ในการผลิต กระบวนการในการผลิต ระบบหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ ต้นแบบผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการศึกษาประสบการณ์การใช้งานของผู้บริโภค การที่นักออกแบบได้จับสัมผัสกับรูปทรงผลิตภัณฑ์ วิศวกรลองใช้งานจากตัวต้นแบบก็จะทำให้เรียนรู้ประสบการณ์การใช้งานอย่างชัดเจนขึ้น

ต้นแบบผลิตภัณฑ์ยังช่วยให้การสื่อสารชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อต้องมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่กับผู้บริหาร พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ร่วมลงทุน หรือลูกค้า เพราะการแสดงผลิตภัณฑ์ให้มองเห็นได้ทั้ง 3 มิติช่วยให้ง่ายต่อการเข้าใจมากกว่าการอธิบายตามคำพูด หรือแม้แต่การวาดภาพร่างผลิตภัณฑ์ลงบนกระดาษก็ตาม นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นนำไปผลิตเป็นสินค้าจริง และทำให้วิศวกรหรือนักออกแบบได้ทราบข้อจำกัดการใช้งานต่างๆ ของสินค้าจากต้นแบบ

ภาคธุรกิจกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์มักให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก มีการสร้างทีมวิจัยและพัฒนาภายในบริษัท หรือแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรือผลิตภัณฑ์ร่วมกัน บริษัท Samsung Electronics (ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์) ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นอีกบริษัทที่ทุ่มงบให้กับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถึงเก้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2011 และในปี 2012 นี้ Samsung วางแผนงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ยอดขายโทรศัพท์มือถือ Samsung แซงแชมป์ตลอดกาลอย่างโนเกียไป

ความสำเร็จของโทรศัพท์มือถือ Samsung มาจากการที่ให้ความสำคัญในเรื่องนวัตกรรมมาเป็นอันดับต้นๆ มีการวิจัยพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาชิพหรือหน้าจอแสดงผลแบบ AMOLED และไม่ละเลยที่จะทำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้อย่างรวดเร็ว Samsung สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในองค์กรและคู่ค้า การสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนา ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่ลูกค้า ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาจึงเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจของ Samsung

Samsung มีทรัพยากรสำคัญนั่นคือ ทีมนักวิจัยและวิศวกรกว่า 42,000 คนทั่วโลก มีศูนย์วิจัย 42 แห่งทั่วโลก Samsung Telecommunications เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ Samsung Electronics ที่มุ่งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ตั้งอยู่ที่เมืองซูวอน เกาหลีใต้ ในการวิจัยและพัฒนาโทรศัพท์มือถือ Galaxy SIII บริษัทได้สร้างทีมวิจัยเล็กๆ ขึ้นมาประกอบด้วยนักวิจัย 6 คน นักวิจัยกลุ่มนี้จะทำงานในพื้นที่ลับเฉพาะ ทุกคนห้ามไม่ให้พูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวเกี่ยวกับการพัฒนา Galaxy SIII นอกจากนี้ยังห้ามถ่ายภาพภายใน ห้ามไม่ให้แผนกอื่นเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของโทรศัพท์ นักวิจัยแต่ละคนจะมีคีย์การ์ดส่วนตัวเพื่อเข้าห้องแล็ป และห้ามนักวิจัยนำต้นแบบโทรศัพท์ขึ้นมาแสดง แม้ในระหว่างการวิจัยจะมีปัญหาใดเกิดขึ้นก็ต้องใช้เพียงคำพูดหรือภาษาท่าทางเพื่อสื่อสารถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

การสร้าง Prototype Galaxy SIII ถึง 3 เครื่องเพื่อการวิจัยและพัฒนาสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของ Samsung และพร้อมส่งมอบคุณค่าของสินค้าถึงมือผู้บริโภค นอกจาก Samsung แล้วทุกวันนี้องค์กรหลายแห่งให้สำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้นก็เพื่อต้องการให้สินค้าตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมากที่สุด ช่วยลดต้นทุนให้กับองค์กร บริษัทขายสินค้าได้ก็จะมีเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารงาน และสามารถกระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่ เพื่อดำรงรักษาบริษัทให้อยู่รอดและพัฒนากิจการให้เจริญเติบโตต่อไป

Credit : คุณภรภัทร รุจยาชยะกูร

Credit : incquity ในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของ Galaxy SIII ต้นแบบโทรศัพท์ถูกสร้างไว้ถึง 3 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องมีฟังก์ชั่นการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ความลับของสินค้ารั่วไหลไปถึงคู่แข่งหรือสื่อมวลชนอีกด้วย การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เริ่มตั้งแต่การออกแบบ การทดสอบ ประเมินผล และปรับเปลี่ยนแก้ไขการออกแบบซึ่งวิเคราะห์จากต้นแบบโทรศัพท์ ในช่วงสุดท้ายของออกแบบวิศวกรยังต้องทำให้ต้นแบบทั้ง 3 เครื่องมีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน วิศวกรที่ต้องนำโทรศัพท์ต้นแบบไปทดสอบจะต้องนั่งเฮลิคอปเตอร์เพื่อไปทดสอบผลิตภัณฑ์ที่อาคารอื่นของ Samsung แล้วยังต้องทำกล่องปลอมสำหรับใส่โทรศัพท์ต้นแบบทั้ง 3 เครื่องในระหว่างการเดินทางไปทดสอบอีกด้วย ที่ต้องทำกันขนาดนี้เพราะ Samsung ป้องกันไม่ให้ต้นแบบโทรศัพท์ไปตกหล่นในสถานที่อื่นๆการสร้าง Prototype Galaxy SIII ถึง 3 เครื่องเพื่อการวิจัยและพัฒนาสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของ Samsung และพร้อมส่งมอบคุณค่าของสินค้าถึงมือผู้บริโภค นอกจาก Samsung แล้วทุกวันนี้องค์กรหลายแห่งให้สำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้นก็เพื่อต้องการให้สินค้าตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมากที่สุด ช่วยลดต้นทุนให้กับองค์กร บริษัทขายสินค้าได้ก็จะมีเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารงาน และสามารถกระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่ เพื่อดำรงรักษาบริษัทให้อยู่รอดและพัฒนากิจการให้เจริญเติบโตต่อไปคุณภรภัทร รุจยาชยะกูร

Write a Comment