โรคติดโทรศัพท์มือถือ

เมื่อท่านสำรวจตัวเองตามพฤติกรรมเหล่านี้แล้ว ขอให้ลองถามตนเองและคนรอบตัว เพื่อทบทวนว่าท่านเข้าข่ายเป็น "โรคติดโทรศัพท์มือถือ" หรือ “โนโมโฟเบีย” ที่เกิดจากความหวาดกลัวหากขาดโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนไม่ได้เลย เพราะคิดว่าจะขาดการติดต่อสื่อสารจากผู้อื่น ซึ่งทางการแพทย์จัดให้เป็นโรคจิตเวชในกลุ่มวิตกกังวล หรือไม่

"YouGov"ซึ่งเป็นองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอาการของโรคนี้ขึ้นเมื่อปี 2008 โดยนำคำว่า no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia เป็น “nomophobia” ประกอบด้วย

· แทบไม่ได้คุยกับเพื่อนที่อยู่ตรงหน้าเลย แต่ใช้เวลาคุยกับเพื่อนทางออนไลน์แทน จนคนอื่นพูดเตือนให้วางโทรศัพท์ฯ ได้แล้วมากกว่าวันละหนึ่งครั้ง

อาการของโรคโนโมโฟเบีย มีทั้งเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หากไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัว โทรศัพท์เเบตหมด หรือว่าอยู่ในที่ไร้สัญญาณ นอกจากนี้ยังมีผลเสียต่อร่างกาย หรือเสี่ยงที่จะเป็นสารพัดโรค ได้แก่

ปวดเหมื่อยคอ บ่า ไหล่ เป็นอาการแรก ๆ เพราะนั่งเกร็งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ยิ่งเพ่งดูหน้าจอท่านก็จะค่อย ๆ งอตัว นั่งหลังงุ้ม ทำให้ทั้งคอ บ่า ไหล่ มีอาการล้า ถ้าปวดเมื่อยมากจะปวดศีรษะเพราะเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนั้นต้องไหลผ่านกล้ามเนื้อส่วนบ่า ต้นคอ เมื่อเกิดอาการเกร็งจนกล้ามเนื้อบิด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเด็กและวัยรุ่นเกิดอาการนี้จะส่งผลให้กระดูกหรือหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวันอันควร

ส่วนความเสี่ยงขณะที่นั่งหลังงุ้มเล่นสมาร์ทโฟน จะทำให้หายใจไม่สุดปอด หายใจสั้น ติดขัด ระบบขับของเสียหรือเชื้อโรคในทางเดินหายใจติดขัดและถูกจำกัดลง

การแก้ไขอาการปวดเมื่อยดังกล่าวเบื้องต้น ท่านสามารถทำได้ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงลำคอไว้ โดยอาศัยการออกแรง – ออกกำลังกาย ได้แก่ การบริหารแบบแอโรบิค (aerobic exercise) เพื่อความเข้มแข็งพื้นฐาน เช่น เดิน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส วิ่งเหยาะ(จอกกิ้ง) ขี่จักรยาน ว่ายน้ำฯ ซึ่งเวลาออกกำลังกายให้พยายามรักษา “คอ”ไว้ให้ตรง และการยืดเส้นหรือการบริหารแบบยืด-เหยียด (stretching exercise) เพื่อเพื่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อช่วงคอ บ่า ไหล่

ตาล้า ตาพร่า จนปวดกระบอกตา เพราะกล้ามเนื้อรอบดวงตาเกร็งตัว เมื่อมองแสงสีของภาพจากจอที่ฉูดฉาด เคลื่อนที่เร็ว เมื่อมีอาการแบบนี้บ่อยครั้ง ประสาทตาจะเสื่อมเร็วขึ้น

สิ่งที่ต้องทำคือ “ชะลอการทำร้ายสายตา และทำให้สายตารู้สึกสบายมากขึ้น” ท่านทำได้โดย กระพิบตาให้ถี่ขึ้น ถึง 20 – 22 ครั้ง/นาที หรือใช้น้ำตาเทียมหยอดตาให้ชุ่มชื้น ถือโทรศัพท์ฯ ให้ห่างจากตัวเรา 50 – 70 เซ็นติเมตร แล้วยกให้อยู่ในระดับสายตาประมาณ 4 – 9 นิ้ว พักสายตาทุกครึ่งชั่วโมงโดยทอดสายตามองสิ่งของที่ห่างไปไม่น้อยกว่า 20 ฟุต หรือหลับตานิ่ง ๆ สักห้านาทีก่อนกลับมาดูจอโทรศัพท์ต่อ

สำหรับขนาดตัวหนังสือ ต้องปรับให้อ่านง่าย สบายตา อย่าฝืนอ่านตัวอักษรที่ขนาดเล็กเกินไป ถ้าท่านมีสายตาผิดปกติ ควรใช้แว่นที่เข้ากับค่าสายตา และระยะมองหน้าจอสมาร์ทโฟน

แสงก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง จึงควรปรับหน้าจอให้สว่างพอสบายตา ไม่สว่างจ้าเกินไป และลดแสงสะท้อนรบกวนโดยควรหาที่นั่งใช้โทรศัพท์มือถือในตำแหน่งที่แสงตกกระทบเฉียง ๆ กับหน้าจอ

ทำให้ภาพหรือตัวอักษรสั่นตาม ท่านควรการสั่นสะเทือนจะหลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟนขณะอยู่บนรถยนต์หรือยานพาหนะจนใช้งานหน้าจอไม่สะดวก

อาการนิ้วล็อก

เริ่มจากมีอาการปวดโคนนิ้วมือ เมื่อเอานิ้วกด ขยับนิ้วจะปวดมากขึ้น กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ งอนิ้วลงแล้วจะติดล๊อกถึงขั้นเหยียดนิ้วออกเองไม่ได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ ในที่สุดมือจะอักเสบ นิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย

ใช้ความร้อนประคบ ออกกำลังกายเหยียดนิ้ว ถ้าอาการรุนแรงต้องฉีดสเตอรอยเฉพาะที่ เพื่อลดอักเสบ ลดปวดบวมจะได้ผลดีที่สุด ให้แช่น้ำร้อนวันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น และบริหารโดยใช้ขวดใบเล็กใส่น้ำร้อนแล้วเอามือกำและเหยียด

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา อาทิ การปวดศรีษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวบริเวณศรีษะและใบหน้า ปวดเป็นประจำ ปวดขมับ ท้ายทอยทั้งสองข้างตื้อ ๆ หนัก ๆ นานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์หรือแรมเดือน แต่อาการปวดจะไม่รุนแรงขึ้นจากวันแรก ๆ วิธีป้องกัน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่คร่ำเคร่งกับการใช้งานบนสมาร์ทโฟนมากเกินไป เปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ผละจากนั่ง ๆ นอน ๆ ใช้โทรศัพท์ ลุกเดินผ่อนคลายจากความเครียด ที่สำคัญควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาและแนะนำการใช้ยาให้ตรงจุด

เมื่อท่านมีอาการดังกล่าว ถึงขั้นที่ต้องเข้ารับการรักษานั้น จิตแพทย์รักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ที่นิยมใช้รักษาผู้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่าง ๆ โดยจะปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัวและกรอบความคิด เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง จนสามารถลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้เองเมื่อรักษาตัวจนหายดีแล้ว

ดังนั้น หากท่านรู้ตัวว่า.... เพิ่งเริ่มติดโทรศัพท์ ลองรักษาตัวเองก่อน โดยให้เริ่มจากลองใช้ชีวิตโดยไม่ต้องมีโทรศัพท์ติดมือตลอดเวลา หยิบขึ้นมาใช้เวลาจำเป็นเท่านั้น พูดคุยกับคนในบ้าน เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หางานอื่นทำเวลาว่างแทนที่จะหมกมุ่นใช้โทรศัพท์ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ปิดโทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน แต่เมื่อได้ทดลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังห่างจากสมาร์ทโฟนคู่ใจไม่ได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

ข้อคิด : โทรศัพท์มือถือ มีความสำคัญกับชีวิตของคนเราในยุคนี้ตลอด 24 ชั่วโมงก็จริง แต่...ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย หากใครที่รู้ตัวว่าเริ่มส่อเค้ามีอาการ "โนโมโฟเบีย"แล้วล่ะก็ ลองปรับเปลี่ยนตัวเองเสียใหม่ตั้งแต่วันนี้...เพื่อสุขภาพของท่านเอง

Write a Comment